Tablehurst Agriculture รู้จัก “ปุ๋ยพืชสด” สารอาหารเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน

รู้จัก “ปุ๋ยพืชสด” สารอาหารเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน

รู้จัก “ปุ๋ยพืชสด” สารอาหารเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน post thumbnail image

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ในยุคปัจจุบันต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่อยู่ในทิศทางขาลง ส่งผลทำให้ต้องมองหาตัวช่วยในการแก้ปัญหา โดยยึดหลักความต้องการลดต้นทุนในการผลิต ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น และช่วยบำรุงดินไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งวิธีที่กำลังได้รับความนิยมและเป็นตัวเลือกที่ดูเหมือนตอบโจทย์มากที่สุด นั่นก็คือ “ปุ๋ยพืชสด”  และหากใครที่ยังไม่รู้จักคุ้นเคยกับปุ๋ยชนิดนี้ ในวันนี้เราจะพาคุณไปทำความเข้าใจให้มากยิ่งขึ้น

อะไร คือ ปุ๋ยพืชสด (Green Manure)

ปุ๋ยพืชสด นิยมใช้พืชตระกูลถั่ว เนื่องจากเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีและขึ้นง่าย มีไรโซเบียมเป็นแบคทีเรียที่อยู่ในรากของต้นถั่วแบบพึ่งพาอาศัยกัน โดยที่แบคทีเรียได้แหล่งพลังงานและแหล่งคาร์บอน ส่วนต้นถั่วได้กรดอะมิโนและสารประกอบไนโตรเจน ที่ไรโซเบียมตรึงได้จากอากาศ โดยวิธีการทำปุ๋ยพืชสด คือ ใช้วิธีการไถกลบในขณะที่พืชยังเขียวและสดอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในช่วงที่พืชกำลังเจริญเติบโตเต็มที่ หรือในช่วงออกดอกที่อายุประมาณ 50 วัน จากนั้นปล่อยให้เกิดการย่อยสลายประมาณ 5 – 15 วัน ก็จะทำให้ได้ธาตุอาหารและเพิ่มอินทรียวัตถุแก่ดิน

ใช้ปุ๋ยพืชสดมีประโยชน์อย่างไร

  • ช่วยป้องกันการชะล้างการพังทลายของหน้าดินปลูกร่วมในระบบการปลูกพืช 
  • ช่วยตัดวงจรของโรค แมลง ศัตรูพืชหลัก 
  • เพิ่มอินทรียวัตถุแก่ดิน 
  • เพิ่มธาตุอาหารที่จำเป็นลงดิน 
  • ปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดิน ลดความหนาแน่น 
  • เพิ่มการจับตัว เพิ่มการอุ้มน้ำ และทำให้ดินร่วนซุยเหมาะแก่การปลูกพืช

ปุ๋ยพืชสดเหมาะกับดินประเภทใด

ไม่ใช่ดินทุกประเภทที่จะเหมาะสำหรับการทำปุ๋ยพืชสด เพราะจำเป็นต้องเลือกพื้นที่ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต เพื่อที่จะได้อินทรียวัตถุที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด อีกทั้งยังเป็นตัวกำหนดพืชที่นำไปใช้ในการปลูกในพื้นที่นั้น ๆ ด้วย

1. พื้นที่ลุ่ม 

  • ดินเค็ม ควรเน้นปลูกพืช ทนต่อน้ำท่วมขัง พืชที่ควรนำมาใช้ทำปุ๋ยพืชสด เช่น โสนแอฟริกัน
  • ดินไม่เค็ม พืชที่ควรนำมาใช้ทำปุ๋ยพืชสด เช่น ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า ปอเทือง โสนแอฟริกัน

2. พื้นที่ดอน

  • ดินชื้น เขตฝนตกชุก กระจายเกือบทั้งปี พืชที่ควรนำมาใช้ทำปุ๋ยพืชสด เช่น ปอเทือง ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า
  • ดินแห้ง พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

ลักษณะที่ดีของพืชที่จะนำมาใช้ทำปุ๋ยพืชสด

หากมีข้อจำกัดในเรื่องของการนำพืชตระกูลถั่วมาใช้ทำปุ๋ยพืชสด ก็ยังสามารถมองหาพืชที่มีคุณสมบัติต่อไปนี้ในการทดแทนได้

  • ขยายพันธุ์ได้ง่าย
  • ปลูกง่าย 
  • ทนต่อสภาพอากาศที่แปรปรวน 
  • แข็งแรง เจริญเติบโตได้ไวแข่งกับวัชพืชได้
  • เจริญเติบโตแตกกิ่งก้านสาขามาก 
  • มีระบบรากลึก และแข็งแรงต้านทานต่อโรคและแมลง 
  • มีลำต้นอ่อน กิ่งโปร่ง ๆ เมื่อไถกลบแล้วเน่าเปื่อยผุพังได้เร็ว

“ปุ๋ยพืชสด” เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ช่วยประหยัดต้นทุนและเพิ่มแร่ธาตุในดินจากการใช้ส่วนลำต้นของพืชตระกูลถั่วในการไถกลบ และปล่อยให้ย่อยสลายกลายเป็นสารอาหารแก่พืช เรียกได้ว่า นอกจากจะปลูกถั่วขายได้แล้ว ส่วนประกอบอื่นของต้นถั่วก็ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์และต่อยอดปลูกพืชชนิดอื่น ๆ ให้มีการเจริญเติบโตงอกงามด้วยดินที่ประกอบไปด้วยธาตุอาหารที่ครบถ้วนสมบูรณ์ได้อีกด้วย

Related Post

ความแตกต่างระหว่างปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี

ทำความรู้จักความแตกต่างระหว่างปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีก่อนใช้ทำความรู้จักความแตกต่างระหว่างปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีก่อนใช้

พืชเจริญเติบโตได้ดีหากปลูกในสภาพพื้นที่ที่มีปัจจัยที่สนับสนุนให้พืชเจริญเติบโตอย่างเหมาะสม คือ ต้องมีทั้งแสงแดด อากาศ น้ำ และต้องมีธาตุอาหารที่จำเป็นอย่างครบถ้วน นำไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงและดูดซึมธาตุอาหารที่จำเป็น ๆ แต่บางพื้นที่อาจมีข้อจำกัดในเรื่องของธาตุอาหารที่ไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องอาศัยการใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มธาตุอาหารเหล่านั้นให้พืชสามารถเจริญเติบโตได้ดี ซึ่งในปัจจุบันก็มีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี เราจะพาคุณไปทำความรู้จักความแตกต่างของปุ๋ยทั้ง 2 ชนิดนี้ก่อนนำไปใช้ให้ถูกประเภท ปุ๋ยอินทรีย์  เป็นปุ๋ยที่ช่วยบำรุงดินให้มีความโปร่ง ร่วนซุย และสามารถอุ้มน้ำและแร่ธาตุได้ดี อีกทั้งยังมีคุณสมบัติสะสมอยู่ในดินนานและค่อย ๆ ปล่อยธาตุอาหาร โดยใช้เวลาในการปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่พืชนานกว่าปุ๋ยเคมี ดินส่วนใหญ่มักจะได้มาจากธรรมชาติ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก

แมลงศัตรูพืช

ทำความรู้จักแมลงศัตรูพืชในพืชผัก พร้อมวิธีการป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพทำความรู้จักแมลงศัตรูพืชในพืชผัก พร้อมวิธีการป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ

“แมลงศัตรูพืช” เป็นปัญหาสำคัญสำหรับเกษตรกร นอกจากจะสร้างความเสียหายให้กับพืชผักแล้ว ยังทำให้ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น จึงควรป้องกันความเสียหายจากการทำลายของแมลงศัตรูพืชก่อนที่จะกลายเป็นปัญหาลุกลาม ดังนั้นเหล่าเกษตรกรจึงมีหน้าที่หาวิธีการป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ให้พืชผลทางการเกษตรถูกทำลายและสร้างความเสียหาย รู้จักแมลงศัตรูพืชในพืชผัก แมลงศัตรูพืชที่มักพบเห็นได้บ่อย ประกอบไปด้วย 6 ชนิด ดังต่อไปนี้ 1. แมลงกัดกินใบ  โดยส่วนใหญ่แมลงประเภทนี้จะกัดเฉพาะบริเวณตัวใบและเหลือเส้นใบไว้เพียงบางส่วน ส่งผลทำให้กระบวนการสังเคราะห์แสง การสะสมอาหาร และการเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ แมลงที่พบได้บ่อย คือ ตั๊กแตน หนอนผีเสื้อ ด้วงปีกแข็ง 2. หนอนใบชา  มักกัดกินเนื้อเยื่อระหว่างผิวใบพืช ส่งผลทำให้พืชขาดส่วนที่ใช้ในการสังเคราะห์แสง โดยสามารถทำลายพืชได้เกือบทุกชนิด พบมากในพืชตระกูลกะหล่ำปลี